วันพุธที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2555

สมุนไพรรักษาโรค

การทำน้ำหมักลูกยอเพื่อสุขภาพ

ต้นยอเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ใบใหญ่หนาสีเขียวเข้ม ดอกเล็กสีขาวเป็นกระจุก ผลกลมยาวรี มีตาเป็นปุ่มโดยรอบผล ลูกอ่อนสีเขียวสด เปลี่ยนเป็นสีขาวนวลเมื่อสุก มีกลิ่นฉุน มีสรรพคุณทางยา ผลดิบ รสเผ็ดร้อน ขับลม บำรุงธาตุ เจริญอาหาร ขับโลหิต แก้คลื่นเหียนอาเจียน ผสมยาแก้สะอึก อมแก้เหงือกเปื่อย แก้เสียงแหบแห้ง และแก้ร้อนใน ลูกยอสามารถนำแปรรูปให้มีรสชาติหน้าทานได้โดยการนำมาทำน้ำหมักเพื่อสุขภาพ ดังนี้

http://www.rakbankerd.com/kaset/Plant/872_1.jpg


ส่วนผสมสำหรับการทำน้ำลูกยอหมัก :

- ลูกยอผลแก่จัดโดยเฉพาะที่เมล็ดมีสีดำ 3 กิโลกรัม
-น้ำตาลทรายแดง 1 กิโลกรัม
-น้ำสะอาด 5 ลิตร

วิธีทำ :

1. ผสมน้ำกับน้ำตาลทรายแดงให้เข้ากันในถังพลาสติกที่มีฝาปิด(ขนาด 20 ลิตร)
2. ล้างลูกยอให้สะอาดผ่านเป็นชิ้นๆ ใส่ลงถังแล้วกดให้จมน้ำแล้วปิดฝา ตั้งไว้ในที่ร่ม หมักทิ้งไว้ 3 เดือน (ในช่วง 7 วันแรกให้คนบ่อยๆ หากไม่คนจะขึ้นรา เพราะไม่มีจุลินทรีย์) หรืออาจหมักใส่ในขวดโหล ใช้ใบตองปิดส่วนบนแล้วใช้ไม้ขัดไว้ปิดฝา (ไม่ควรปิดแน่น เพราะอาจเกิดก๊าซจากการทำงานของจุลินทรีย์ อาจทำให้ขวดแตกได้) หรือเอา ผ้าขาวบางปิดฝาไว้ แล้วเอาเชือกมัดปากขวดโหลให้แน่น
3. เมื่อหมักครบ 3 เดือน จึงกรองเอาแต่น้ำ น้ำลูกยอที่ได้จะมีสีดำ หากหมักนานเกิน 3 เดือนยิ่งดี หรือเมื่อครบ 3 เดือนแล้วนำน้ำลูกหมักมาใช้ครั้งแรกก่อน แล้วกากที่เหลือสามารถหมักต่อได้อีก 2-3 ครั้ง โดยแต่ละครั้งแต่ละครั้งต้องเติมน้ำตาลทรายแดงอีก 1 กิโลกรัม ลงไปในถังหมักเพื่อให้จุลินทรีย์ทำงานได้เร็วขึ้น เพียง 1 เดือนก็สามารถนำมาใช้ได้) น้ำหมักลูกยอที่ได้จะมีความเข้มข้นสูง และมีรสเปรี้ยว กลิ่นหอมเหมือนน้ำส้มสายชู

สรรพคุณ :

ช่วยเจริญอาหาร ขับลม แก้ปวดเมื่อย ช่วยระบบย่อยอาหารและการขับถ่าย

การผสมน้ำลูกยอหมักไว้รับประทานหลายวัน :

ส่วนผสม

น้ำหมักลูกยอ 1 ส่วน
น้ำผึ้ง (ไล่ความชื้นแล้ว) 1 ส่วน
น้ำต้มสุก 5 ส่วน

วิธีทำ :

นำส่วนผสมทั้งหมดรวมกัน อาจเติมเกลือป่นเพิ่มรสชาติก็ได้ สามารถเก็บใส่ขวดแช่ตู้เย็นไว้รับประทานได้นาน 7 วัน (หากทิ้งไว้โดยไม่แช่ตู้เย็น จะมีรสเปรี้ยวเพราะ จุลินทรีย์ทำงาน ต้องเติมน้ำผึ้งอีกครั้งเพื่อให้รสชาติคงเดิม

-------------------------------------- @ ^ - ^ @ -----------------------------------------

ข้อมูลอ้างอิง : เอกสารองค์ความรู้และภูมิปัญญาของปราชญ์ชาวบ้าน โดยบุญเป็ง จันต๊ะภา
 






การใช้หน่อไม้น้ำรักษา''โรคเบาหวาน''

หน่อไม้น้ำหรือกะเป๊กนอกจากจะมีรสชาติอร่อยแล้ว ซึ่งเป็นที่นิยมแก่ผู้บริโภค หน่อไม้น้ำยังถือเป็นพืชสมุนไพรที่มีคุณสมบัติในการรักษาโรคต่างๆ อีกมากมาย ซึ่งคุณแสงทองได้แนะนำวิธีการนำหน่อไม้น้ำมาช่วยในการรักษาโรคเบาหวาน วิธีการต่างๆ มีดังนี้

http://www.rakbankerd.com/kaset/Plant/829_1.jpg

1. นำหน่อไม้น้ำที่แก่ ซึ่งนื้อในจะมีลักษณะเป็นจุดดำๆ คล้ายๆกับเนื้อแก้วมังกร มาหั่นบางๆ

2. นำหน่อไม้น้ำที่หั่นแล้วไปตากแดดให้แห้ง

3. นำมาต้มกับน้ำให้เดือด ใช้ดื่มแทนน้ำชาเป็นประจำทุกวัน

แค่นี้ก็สามารถที่จะนำหน่อไม้น้ำมาช่วยในการรักษาโรคเบาหวานได้แล้ว


***หมายเหตุ***
นอก จากหน่อไม้น้ำจะเป็นสมุนไพรที่มีคุณสมบัติในการรักษาโรคเบาหวานแล้วหน่อไม้ น้ำยังช่วยในการรักษาโรคความดันโลหิตสูง บำบัดโรคภูมิแพ้ หืด หอบ ขับปัสสาวะ ล้างไต และยังช่วยในการบำบัดรักษาโรคมะเร็งได้อีกด้วย

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : คุณแสงทอง สถานพงษ์ เกษตรกรผู้ปลูกหน่อไม้น้ำหรือกะเป๊ก จ.ภูเก็ต






รักษา''อาการปัสสาวะติดขัด'' ด้วยสมุนไพรใกล้ตัว

อาการปัสสาวะขัด ปัสสาวะลำบาก เกิดจากการอั้นปัสสาวะบ่อยๆ ปวดแล้วไม่ยอมปัสสาวะออกมา หรือเกิดจากเชื้อหนองใน นิ่ว กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ต่อมลูกหมากโต หรือดื่มน้ำน้อย เมื่อเป็นจะมีอาการปวดท้องน้อยถ่วงๆ เหมือนปวดปัสสาวะแต่เมื่อไปปัสสาวะกลับมีปัสสาวะไหลออกมาน้อย หรือบางทีก็ไม่มีเลย แต่อาการปวดยังปวดกะปริดกะปรอยอยู่ อาการที่เกิดขึ้นนี้เราสามารถใช้สมุนไพรที่อยู่ใกล้ตัวเรารักษาได้


http://www.rakbankerd.com/kaset/Plant/814_1.jpg

สมุนไพรที่ใช้ในการรักษาเพื่อขับปัสสาวะ มีดังนี้

ตะไคร้

 ใช้ต้นแก่หั่นเป็นแว่นบางๆ 1 กำมือ ต้มกับน้ำ ดื่มวันละ 3 ครั้ง ครั้งละ 1 ถ้วยชา หลังอาหาร หรือเมื่อมีอาการ§

 ใช้เหง้าแก่ฝานเป็นแว่นบางๆ คั่วไปอ่อนๆ พอเหลือง นำมาแช่ในน้ำร้อน 1 ถ้วยชา ดื่มวันละ 3 ครั้ง หลังอาหาร หรือเมื่อมีอาการ§

มะละกอ

 ใช้รากของต้นมะละกอต้มกับน้ำ ดื่มวันละ 3 เวลา ครั้งละ 1 แก้ว หลังอาหารหรือเมื่อมีอาการ§

อ้อยแดง

 ใช้ลำต้นสด สับเป็นชิ้นเล็กๆ ต้มกับน้ำ ดื่มวันละ 2-3 ครั้ง ครั้งละ 1 ถ้วยชา หลังอาหารหรือเมื่อมีอาการ§

แตงกวา

 ใช้รากสด 1 กำมือ ล้างให้สะอาด ใส่น้ำแต่พอท่วมต้มเอาน้ำ ดื่มวันละ 3-4 ครั้ง ครั้งละ 1 แก้ว หลังอาหารหรือเมื่อมีอาการ§

ถั่วเขียว

 ใช้เมล็ดถั่วเขียว ต้มกับน้ำจนเมล็ดถั่วเขียวสุก แล้วตักเอาน้ำมาดื่มวันละ 3 ครั้ง ครั้งละ 1 แก้ว หลังอาหารหรือเมื่อมีอาการ§

บวบเหลี่ยม

 ใช้ใบสดหรือผลอ่อน ต้มกับน้ำ ดื่มวันละ 2 ครั้ง ครั้งละ 1 แก้ว§

สับปะรด

 ใช้เหง้าหรือแกนสับปะรดต้มกับน้ำ ดื่มวันละ 3 ครั้ง ครั้งละ 1 แก้ว§

มะเขือพวง

 ใช้ลำต้นแห้งสับเป็นท่อนๆ ล้างน้ำให้สะอาด นำไปต้มกับน้ำ ใช้น้ำดื่ม เช้า-เย็น ครั้งละ 1 แก้ว หลังอาหารหรือเมื่อมีอาการ§

น้ำเต้า

 ใช้น้ำเต้าสดปอกเปลือกออก§ เอาเนื้อล้างน้ำให้สะอาดแล้วนำไปตำคั้นเอาน้ำให้ได้ 1 แก้ว ผสมน้ำผึ้งลงไป 3 ช้อนชา ดื่มวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น

มะรุม

 ใช้เปลือกต้นสด นำมาขูดผิวด้านนอกออกให้หมด ล้างน้ำให้สะอาด  นำไปต้มใช้น้ำดื่มวันละ 3 ครั้ง ครั้งละ 1 แก้วอาหาร

'ส้มออบแอบ'' แก้อักเสบ ลดแผลในกระเพาะ

ส้ม ออบแอบหรือลูกเถาคันเป็นพืชท้องถิ่นในแทบภาคใต้ คนใต้รู้จักนำไปใช้ประโยชน์โดยการนำลูกและใบอ่อนซึ่งมีรสเปรี้ยวๆ ไปใส่แกงส้มจะได้รสชาติที่อร่อยกลมกล่อม ส่วนลูกสุขจะนำไปหมักทำไวน์ ให้รสชาติดีอีกเช่นกัน

ส้มออบแอบหรือลูกเถาคัน อยู่ในวงศ์ MYRCINACEAE มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Embelia subcoriacea Mez. ชื่ออื่นๆ ที่ใช้เรียกกัน ได้แก่ ส้มเค้า (คลองหอยโข่ง-สงขลา), ส้มน้ำออบ, ส้มอ๊อบแอ๊บ (นครศรีธรรมราช) ลูกเถาคัน(ใต้)

http://www.rakbankerd.com/kaset/Plant/596_1.jpg
ส้ม ออบแอบเป็นพืชเถาที่เกี่ยวพันกับต้นไม้อื่น มีใบสีเขียวรูปสามเหลี่ยมหัวใจ ยาวประมาณ 15ซม. ฐานกว้างประมาณ 8 ซม. ลำต้นรูปสี่เหลี่ยมเป็นข้อๆยาวประมาณ 5 - 10 ซม. เมื่ออ่อนจะมีสีเขียวอ่อน แก่เต็มที่จะมีแป้งสีขาวเกาะติดระหว่างข้อ ตรงข้อจะมีหนวดสีชมพูใช้เกาะเกี่ยวต้นไม้อื่น ใบออกตรงข้อ ดอกออกเป็นช่อลักษณะเป็นตุ่มเล็กๆ สีน้ำตาล เมื่อดอกบานจะมีกลีบดอกเล็กๆ สีเหลือง ผลออกเป็นพวง ผลอ่อนจะมีสีเขียวนวลๆ มีรสชาติเปรี้ยว เมื่อก่ผลจะเปลี่ยนเป็นสีม่วงดำ แต่ละผลมีขนาดประมาณ 0.5 ซม.

ส่วนที่ใช้ประโยชน์ :

ใบและผลอ่อน มีรสเปรี้ยว ใช้เป็นผักแกงส้ม (แกงเหลือง ปักษ์ใต้)หรือนำไปลนไฟตำ
น้ำพริกได้

ประโยชน์ทางยา :
ใบและเถาใช้เป็นยาฟอกเลือด ดับพิษตานซาง ราก แก้อักเสบเนื่องจากเป็นแผลในกระเพาะอาหาร และต้มเป็นยาขับพยาธิไส้เดือนสำหรับเด็ก
http://www.rakbankerd.com/kaset/Plant/596_2.jpg


ข้อมูลเพิ่มเติม :

ทาง ร่วมด้วยช่วยกันสงขลา ได้รับคำแนะนำจากผู้ใช้บริการ *1677 ว่า อยากทราบข้อมูลเรื่อง ส้มออบแอบ ซึ่งผู้ใช้บริการ *1677 ระบุว่า อ่านพบใน มติชนสุดสัปดาห์ ลงข้อมูลเกี่ยวกับ ส้มออบแอบ จึงสอบถามมายัง *1677 เพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องนี้ ดังนั้นทีมงานฯ จึงได้นำข้อมูลจาก มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับที่ 1468 วันที่ 3-9 ต.ค. 2551 คอลัมน์สมุนไพรเพื่อสุขภาพ มาขยายต่อ จากนั้นจึงได้ประสานไปยัง ศูนย์สมุนไพรทักษิณ คณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยคุณปราณี รัตนสุวรรณ ให้ข้อมูลมาพอสังเขปดังนี้

ส้มออบแอบหรือลูกเถาคัน มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นแตกต่างกันไป ที่เหนือเรียก ป่องเครือ ลำปางเรียก นมนาง เชียงใหม่เรียก แม่น้ำนอง โคราชเรียกส้มกุ้ง ที่ใต้เรียก ลูกเถาคัน อีสานเรียก ส้มอ๊อบแอ๊บ บ้างก็เรียกส้ม ออบแอบ ก็มี เรียกส้มขี้มอด ก็มี

ถิ่นกำเนิดจากอินเดียและได้กระจายแพร่ พันธุ์ไปทั่วทุกภาคของไทย ส้มอ๊อบแอ๊บหรือลูกเถาคัน เป็นไม้เลื้อยประเภทเถาวัลย์ ใบหนามีรสเปรี้ยว ใบย่อยมี 3 ใบ ผลอ่อนสีเขียว แก่จัดมีสีดำ ผลสุขมีสรรพคุณเป็นยาระบาย ( เวลาทานผลสุก เวลาขับถ่ายออกมาจะเป็นสีดำถือเป็นเรื่องปกติ ไม่ต้องตกใจ)

สรรพคุณทางสมุนไพรใบ , เถา ใช้ฟอกเลือด ดับพิษตางซาง ราก นำไปต้ม ลดแผลในกระเพาะอาหาร ,ขับพยาธิ

การใช้ประโยชน์ :

ภาคใต้ นิยมนำใบ รวมทั้งผลอ่อนมาแกงส้มปลา บ้างก็นำใบใส่ในแกงเหลือง ภาคอีสานนำใบส้มอ๊อบแอ๊บปรุงรสในต้มเป็ด ต้มปลา ก็ใส่

ล่าสุดที่ภาคอีสาน เครือข่ายหมอพื้นบ้านภาคอีสาน(มหาสารคาม) ได้รวมกลุ่มจัดตั้งเครือข่ายหมอพื้นบ้าน และรวบรวมองค์ความรู้เรื่องสมุนไพร โดยได้นำข้อมูลสมุนไพรมารวบรวมเป็นตำหรับยา เพื่อใช้ในการรักษาโรคให้สืบกันต่อไป หนึ่งในตำหรับยานั้น มีสูตรพิเศษช่วยบำบัดในเรื่องอาการเหน็บชาในวัยชรา ด้วยสมุนไพร 3 ชนิด คือ ส้มขี้มอด หูลิง เครือทางควาย โดยนำเอาแก่นของไม้ทั้งสาม ต้มรวมกันใช้ดื่ม

ผลแก่ สามารถนำไปหมักทำไวน์ ได้ ( มีรสเปรี้ยวคล้ายองุ่น )

ใบ นำไปทำเป็นผงนัว (ปรุงรสอาหาร ) นับได้ว่ามีประโยชน์มากมายเกินตัว ควรมีกล้าพันธุ์ หรือเมล็ดเพาะปลูกไว้ติดบ้าน ดังนั้น ทางทีมงานของเรา จึงขยายผลต่อ ไปยังแหล่งของส้มอ๊อบแอ๊บ หรือ ลูกเถาคัน โดยได้รับความช่วยเหลือจากคุณปราณี จนท.จากศูนย์สมุนไพรทักษิณ ฯ พาไปดูต้นอ๊อบแอ๊บ ที่ขึ้นตามธรรมชาติ ณ คลองพะวง ( คลองพะวง อยู่ใกล้กับสหกรณ์ออมทรัพย์ครู จังหวัดสงขลา ถนนลพบุรีราเมศวร์ )

ที่คลองพะวงแห่งนี้ มีส้มอ๊อบแอ๊บขึ้นตามธรรมชาติอยู่มากพอสมควร มีทั้งผลอ่อน และผลแก่ โดยในส่วนของภาคการขยายพันธุ์ส้มอ๊อบแอ๊บนั้น ท่านผู้ใดสนใจ อยากหาเมล็ดไปปลูก ก็สามารถไปเก็บผลแก่ได้ที่คลองพะวง รับรองว่ามีจำนวนมากมายพอไม่ผิดหวัง


-------------------------------------------- @ ^ - ^ @ -------------------------------------

ขอขอบคุณข้อมูลจาก :

มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับที่ 1468 วันที่ 3-9 ต.ค. 2551 คอลัมน์สมุนไพรเพื่อสุขภาพ

ศูนย์สมุนไพรทักษิณ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

สถานีวิทยุชุมชน "ร่วมด้วยช่วยกัน จ.สงขลา"




สมุนไพรแก้ไข้หวัด

อาการไข้หวัดเกิดจากหลายสาเหตุ ส่วนใหญ่มักเกิดจากการติดเชื้อทำให้เกิดการอักเสบและมีไข้ หรือเกิดจากร่ายกายได้รับความร้อนมากเกินไป สมุนไพรที่แนะนำเพื่อบำบัดอาการไข้ที่ไม่รุนแรงและซับซ้อนมีดังนี้
http://www.rakbankerd.com/kaset/Plant/553_1.gif

1. บอระเพ็ด

- เหนือเรียก เครือเขาฮอ จุ่งจิงก็เรียก หนองคายเรียก เจตมูลหนาม ใต้เรียก เจตมูล

วิธีใช้: เถาที่ใช้เป็นยาต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 1 ปีครึ่ง ใช้เถาสดยาว 2 คืบครึ่ง ( 30-40 กรัม ) ตำคั้นเอาน้ำดื่ม หรือต้มกับน้ำ 3 ส่วน เคี่ยวให้เหลือ 1 ส่วน ดื่มก่อนอาหารวันละ 2 ครั้งเช้า-เย็น หรือเวลามีไข้ เพื่อให้ง่ายต่อการรับประทานอาจบดเป็นผงแห้งปั้นเป็นลูกกลอนขนาดเท่าปลาย นิ้วแก้ว รับประทานครั้งละ 2 เม็ดวันละ 3



**ข้อควรปฏิบัติ** ควรดื่มน้ำมากๆ และไม่ควรกลั้นปัสสาวะ หากปวดมากให้กินยาระงับปวด หรือถ้าไม่หายควรไปพ "ส้มป่อย" แก้ไอ ขับเสมหะ

ส้มป่อย เป็นไม้พุ่มรอเลื้อยขนาดใหญ่ ตามลำต้นกิ่งก้าน มีหนาม ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ใบย่อยรูปขอบขนาน ปลายและโคนใบมน ดอกมีขนาดเล็กเป็นช่อกลม เป็นพู่เหมือนดอกกระถิน ออกตามปลายกิ่ง ฝักแบนยาว คล้ายถั่วลันเตา สีน้ำตาลดำ ขอบเป็นคลื่น ผิวย่น มีสารกลุ่มซาโปนินสูงถึง 20 % ตีกับน้ำจะเกิดฟองคงทนมาก มีเถาเป็นเนื้อไม้และมีหนามที่เปลือกของลำต้น ลำต้นเลื้อยพาดพันต้นไม้อื่นได้ บริเวณยอดอ่อนเถาจะเป็นสีแดงคล้ำมีหนามอ่อน ใบ เป็นใบประกอบ ก้านใบประกอบยาว 6 - 16 ซม. ก้านใบยาว 1.5 - 5.2 ซม. ประกอบด้วยใบ 5-10 คู่ มีใบย่อย 10-35 คู่ ในแต่ละก้าน ใบย่อยมีสีเขียวขนาดเล็ก ดอก จะแตกออกจากง่ามใบลักษณะเป็นทรงกลมคล้ายดอกกระถิน และมีเกสรเป็นขนอ่อนๆ รอบดอก เมื่อดอกแก่จะกลายเป็นฝักยาว ผล เป็นฝัก ผิวของฝักมีคลื่นขรุขระ ฝักยาว 10 - 15 ซม. เปลือกของฝักอ่อนเป็นสีเขียวอมแดง พอแก่เป็นสีน้ำตาลเข้ม เมล็ดเรียงอยู่ภายในขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด


ชื่อพื้นบ้านอีสาน : ส้มป่อย

ชื่อทั่วไป : ส้มป่อย หรือ ส้มขอน ภาคกลาง : ส้มป่อย ภาคเหนือ : ส้มใบ ส้มป่อย ภาคใต้ : ส้มใบ

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Acacia concinna (Willd.) DC.

วงศ์ : Leguminosae-Mimosoideae

ประเภท : ไม้เถา



http://www.rakbankerd.com/kaset/Plant/785_1.jpg

ประโยชน์ของส้มป่อย :

ยอดอ่อนของส้มป่อยใช้กินเป็นอาหาร และประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ เช่น เผ่าใส่ในน้ำมนต์ เป็นการรักษาและป้องกันโรคต่าง ๆ หรือใช้เป็นอุปกรณ์พรมน้ำมนต์(ตามวิถีชีวิตและความเชื่อของคนอีสาน) ในส่วนของฝักมีสารออกฤทธิ์ในกลุ่ม (saponin) ได้แก่ acacinin A, B, C, D และ E จากนอกจากนี้ยังมีการนำส้มป่อยไปใช้ในอุตสากรรมการทำเครื่องสำอางค์ (ยาสระผม น้ำหอม เป็นต้น)ในประเทศลาว

สรรพคุณทางสมุนไพร

ใช้ใบต้มอาบแก้โรคผิวหนัง และเป็นยาขับเสมหะ

สรรพคุณทางยา

ใบ - รสเปรี้ยว ฝาดร้อนเล็กน้อย สรรพคุณช่วยขับเสมหะ ขับระดูขาว แก้บิด ฟอกโลหิต แก้โรคตา

ดอก - รสเปรี้ยว ฝาด มัน แก้เส้นเอ็นพิการให้สมบูรณ์

ฝัก - รสเปรี้ยว เป็นยาขับเสมหะ แก้ไอ ทำให้อาเจียน แก้น้ำลายเหนียว แก้โรคผิวหนัง ช่วยขจัดรังแคและบำรุงเส้นผม

เปลือก - รสขมเปรี้ยว เผ็ดปร่า เจริญอาหารกัดเสมหะ แก้ไอ แก้ซางเด็ก

ต้น - รสเปรี้ยวฝาดแก้ตาพิการ

ราก - รสขม แก้ไข้ แก้ท้องร่วง

ประโยชน์ทางอาหาร

ยอดอ่อนและใบอ่อนใช้รับประทานเป็นผัก และเครื่องปรุงรสช่วยให้อาหารมีรสเปรี้ยว และช่วยดับกลิ่นคาวปลาได้ ยอดส้มป่อยมักนำมาแกงกับปลา แกงส้ม หรือจอ (อาหารเหนือ) ก็ได้ เวลาแกง อาจจะใส่ยอดส้มป่อยอย่างเดียวหรือแกงรวมกับยอดมะขามอ่อนก็ได้

ประโยชน์ด้านอื่นๆ

น้ำของฝักส้มป่อยใช้ขัดล้างเครื่องเงิน เครื่องทอง นอกจากนี้เปลือกต้นให้สีน้ำตาลและสีเขียวซึ่งใช้ประโ ยชน์ในการย้อมผ้า ย้อมแห และอวนได้

สารที่มีประโยชน์ในส้มป่อย

- ในฝักมีสารชาโปนิน ซึ่งทำเป็นฟองคล้ายสบู่

- มีสารจำพวก กรดอินทรีย์ ที่ทำให้รสเปรี้ยว นำไปประกอบอาหารได้
http://cdn.palungjit.com/images/smilies/pp1.gif





''ต้นรางจืด'' แก้พิษสารเคมี ยาฆ่าแมลง

รางจืด เป็นพืชสมุนไพรไทยที่ได้รับการยืนยันทางวิทยาศาสตร์ว่า มีสรรพคุณแก้ท้องร่วง อาการแพ้ ผื่นคัน แก้พิษยาฆ่าแมลงในสัตว์ แก้พิษจากสารในยากำจัดศัตรูพืช แก้พิษเคมี พิษเบื่อเมา พิษแอลกอฮอล์ พิษสุราเรื้อรัง พิษสะสมในร่างกาย ไข้ร้อนใน ฯลฯ ปัจจุบันมีผู้นำรางจืดมาทำเป็นผลิตภัณฑ์ใบชา หรือถุงชาในแพ็กเกจสวยหรูดูดี และยังทำเป็นเครื่องดื่มสมุนไพรสำเร็จรูป ซึ่งเป็นของกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์ชุมชน หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ราคาย่อมเยา สามารถชงดื่มได้ทันที ใบรางจืดอบแห้งมีกลิ่นใบไม้แห้งหอมอ่อนๆ เป็นธรรมชาติ ให้น้ำชาสีน้ำตาลออกเขียว มีสรรพคุณกำจัดพิษ แก้เมาค้าง บรรเทาอาการผื่นแพ้ และลดความร้อนในร่างกาย เหมาะกับเมืองไทยในขณะนี้ที่มีความร้อนขึ้นเรื่อยๆ


http://www.rakbankerd.com/kaset/Plant/748_1.jpg

ตามความเชื่อในวงเหล้าที่มีมานาน ว่ากันว่าถ้านำต้นรางจืดมาเคี้ยวสดๆ จะช่วยดับฤทธิ์แอลกอฮอล์ได้ และจะทำให้นั่งดื่มสุราได้นานกว่าจะเมา(ไม่เมา) แต่ยังไม่เคยมีการศึกษาวิจัยมาก่อนและไม่มีคำแนะนำให้ปฏิบัติด้วย เพราะสุดท้ายเมื่อเหล้าเข้าสู่ร่างกาย ก็จะไปทำลายอวัยวะที่เป็นทางผ่านทั้งหมดและทำลายที่ตับ ทำให้ตับทำงานหนักที่สุด ตับจึงได้รับพิษจากเหล้ามากที่สุด เซลล์ตับที่ถูกทำลายจะมีไขมันไปเกาะแทนที่ ทำให้เกิดตับอักเสบเนื่องจากการคั่งของไขมัน ทำให้เซลล์ตับถูกทำลายมากขึ้นไปอีก และเมื่อเซลล์ตับตายลงถึงระดับหนึ่ง ก็จะมีพังผืดไปขึ้นที่บริเวณนั้นลักษณะคล้ายแผลเป็น ส่งผลให้เนื้อตับที่เคยอ่อนนุ่มกลับแข็งตัวขึ้น เกิดอาการตับแข็งได้ในที่สุดและจะทำให้มีอายุสั้น

รางจืด :

ชื่อวิทยาศาสตร์ Thunbergia lauriflolia Linn.

ชื่ออื่นๆ ยาเขียว, เครือเขาเขียว, กำลังช้างเผือก, หนามแน่, ย้ำแย้, น้ำนอง, คาย, ดุเหว่า, รางเย็น, ทิดพุด, แอดแอ, ขอบชะนาง

ส่วนที่ใช้เป็นยา ทั้งต้น รากและเถา ใช้เป็นยา

สรรพคุณเด่น จะมีรสเย็น ใช้ถอนพิษยาเบื่อเมาหรือใช้ปรุงเป็นยาเขียว ถอนพิษไข้และพิษทั้งปวง แก้ร้อนในกระหายน้ำ

วิธีนำต้นรางจืดไปใช้ในครัวเรือน









นำรากหรือใบรางจืดมาโขลกให้แหลก ผสมนำซาวข้าวคั้นเอาแต่น้ำใช้ดื่ม หรือเอาใบรางจืดมาผึ่งลมให้แห้ง แล้วเก็บใบชงกับน้ำร้อนดื่มต่างน้ำก็ได้

การนำมาทำเป็นชารางจืด

ชารางจืดไม่มีพิษ ดื่มได้ทุกวันเป็นประจำ ใบสดนำมาคั้นกับน้ำเพื่อให้ผู้ป่วยที่กินยาฆ่าแมลงดื่ม เป็นการปฐมพยาบาลก่อนนำส่งโรงพยาบาลได้ แต่จะไม่ให้ผลในการกินเพื่อป้องกันก่อนการสัมผัสกับยาฆ่าแมลง

เนื่องจากต้นรางจืดนี้ฃสามารถเสาะหาได้ง่ายในแถบชนบท โดยเฉพาะเกษตรกรที่ต้องใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช สามารถนำใบรางจืดมาต้มทำเป็นชารางจืด ดื่มแทนน้ำธรรมดาเพื่อใช้ทำลายและขับพิษสารเคมีออกมา ไม่ให้ตกค้างในร่างกาย (พิษของสารกำจัดศัตรูพืชจะทำให้เกิดอาการวิงเวียน คลื่นไส้ อาเจียน แน่นหน้าอก หายใจลำบาก)

แหล่งข้อมูล : ผศ.ดร.พรรณระพี อำนวยสิทธิ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เขตพื้นที่พิษณุโลก (ฝ่ายสัตวบาล) เบอร์โทร. 08-9858-138308-9858-1383

-------------------------------------- @ ^ - ^ @ -----------------------------------------

ที่มา : ศูนย์ทางด่วนข้อมูลการเกษตร *1677
สถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน จ.พิษณุโลก






น้ำนม แก้ปวดมวน แน่นท้อง แก้บิด

เป็นไม้ล้มลุก มีเหง้าใต้ดิน เนื้อในสีเหลืองอ่อน กลิ่นหอม ใบเดี่ยวเรียงสลับเป็นรูปหอกแกมขอบขนาน ด้านล่างของใบมักมีขนนุ่ม ช่อดอกแทงจากเหง้า กลีบดอกสีขาวนวล
รสขมและขื่นเล็กน้อย มีสรรพคุณทางยาไทย - ขับลม บำรุงน้ำนม แก้ปวดมวน แน่นท้อง แก้บิด

ชื่ออื่น : กระแวน

ชื่อ

http://www.rakbankerd.com/kaset/Plant/701_1.jpg


[COLOR=#ff00ff]สรรพคุณและข้อแนะนำในการใช้ตามระบุในงานสาธารณสุขมูลฐาน :


สรรพคุณ แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด

วิธีการใช้ ใช้เหง้าหรือหัวสดขนาดเท่าหัวแม่มือ 2 หัว ประมาณ 20 กรัม ย่างไฟพอสุก ตำกับน้ำปูนใส คั้นเอาน้ำดื่มเวลามีอาการ

องค์ประกอบทางเคมี :

1. องค์ประกอบหลักในน้ำมันหอมระเหยจากเหง้ากระทือ ประกอบด้วย zerumbone, zerumboneepoxide, - humulene, camphene, - caryophyllene, linalool, cuzerenone, camphor, isoborneol,1, 8-cineol, diferuloyl methane รวมถึง p-hydroxybenzaldehyde และ vanillin

[COLOR=black]2. องค์ประกอบอื่นๆ ที่มีรายงานได้แก่ สารกลุ่มฟลาโวนอยด์ เช่น kaempferol 3-0-methylether; kae''กระเทียม'' แก้กลากเกลื้อน แก้ไอ แก้ปวดฟัน ขับเสมหะ ช่วยย่อย

กระเทียมเป็นพืชล้มลุกสูง 30-45 เซนติเมตร เป็นพืชลงหัวใต้ดิน หัวประกอบด้วยกลีบหลายกลีบรวมกัน มีเปลือกหุ้มหลายชั้น สีขาวหรือสีขาวอมม่วง ใบมีสีเขียว หนาแบนและกว้าง 1-2.5 เซนติเมตร ยาว 30-60 เซนติเมตร ปลายแหลมโคนมีสีขาวหรือสีเขียวอ่อน แผ่เป็นแผ่นแบนหุ้มกันกลายเป็นลำต้น ดอกเป็นช่อ ก้านช่อยาวเป็นกระจุกที่ปลาย มีดอกย่อยหลายดอก กลีบดอกสีขาวหรือสีขาวอมชมพู มี 6 กลีบ รสเผ็ดร้อน มีสรรพคุณทางยาไทย - เป็นยาขับลมในลำไส้ แก้กลากเกลื้อน แก้ไอ ขับเสมหะ ช่วยย่อยอาหาร แก้ปวดฟัน ปวดหู และโรคผิวหนัง

ชื่ออื่น : หอมเทียม เทียม หัวเทียม กระเทียมขาว หอมขาว ประเซ้วา

ชื่อวิทยาศาสตร์ Allium sativum Linn.
วงศ์ Alliaceae

http://www.rakbankerd.com/kaset/Plant/700_1.jpg


สรรพคุณและข้อแนะนำในการใช้ตามระบุในงานสาธารณสุขมูลฐาน :


สรรพคุณ

1) รักษาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด

2) รักษาโรคกลากเกลื้อน

วิธีการใช้

1) สำหรับการบรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ รับประทานกระเทียมสดครั้งละประมาณ 5-7 กลีบ หลังอาหารหรือเวลามีอาการ

2) การรักษากลากเกลื้อน ผ่านกลีบกระเทียมแล้วนำมาถูบริเวณที่เป็น หรือตำคั้นเอาน้ำมาทาบริเวณที่เป็น วันละ 3-4 ครั้ง เมื่อหายแล้วให้ทาต่ออีก 7 วัน


องค์ประกอบทางเคมี :

ในน้ำมันระเหยจากกระเทียมประกอบด้วยสารประกอบที่มีกำมะถันเป็นองค์ประกอบ ได้แก่ allicin, diallyl sulfide, diallyl, disulfide, diallyl trisulfide, ajoene นอกจากนี้ยังพบโปรตีนที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพ เช่น alliumin, allivin

ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา-ฤทธิ์ทางชีวภาพ และข้อมูลสนับสนุนการใช้สมุนไพรในทางคลินิก :

1) ฤทธิ์ต้านจุลชีพ สารสกัดกระเทียมด้วยน้ำมีฤทธิ์ต้านเชื้อราหลายชนิด เช่น malassezia furfur, Candida albicans, C. glabrata, C. tropicalis, C.parapsilosis, Trichophyton mentagrophytes,T. rubrum, Microsporum canis, M. gypseum, Epidermophyton fluccosum ในระดับดี(ความเข้มข้นต่ำสุดที่ยับยั้งการเจริญ ต่ำกว่า 1 มิลลิกรัมต่อมิลลิเมตร) โปรตีนจากกระเทียมมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตหลายชนิด เช่น Mycosphaerella arachidicola, botrytis cinerea,Physalospora piricola ทั้งนี้ จากการศึกษากลไกการออกฤทธิ์ของโปรตีน allivin พบว่ามีผลยับยั้งการสังเคราะห์โปรตีนในขั้นตอนการเกิดทรานสเลชั่น ใน cell-free rabbit reticulocyte นอกจากการยับยั้งการเจริญของเชื้อรา พบว่า allivin จากกระเทียมสามารถยับยั้งการเจริญของจุลชีพอื่นๆ ทั้งในกลุ่มแบคทีเรีย ได้แก่ Pseudomonas,Escherichia,Saimonella,Staphylococcus,Streptococcus,Klebsiella
,Proteus,Bacillus,Clostridium,Shigella,Sh.flexneri,Sh.sonnei, Mycobacterium tuberculosis, Helicobacter pylori รวมถึงการปัองกันการสร้าง Staphylococcus enterotoxins A, B, C1 และ themonuclease ยับยั้งการเจริญของพาราไซต์ ได้แก่ Giardia lamblia cytomegalovirus, influenza B , herpes simplex virus type 1 , , herpes simplex virus type 2, parainfluenza virus type 3, vaccinia virus, vesicular stomatitis virus, human rhinovirus type 2

2)ฤทธิ์ความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็ง โปรตีน allivin จากกระเทียมสามารถยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว L1210

-------------------------------------- @ ^ - ^ @ -----------------------------------------

ขอขอบคุณข้อมูลจาก :
หนังสือสมุนไพรสำหรับงานสาธารณะสุขมูลฐาน
ภาควิชาเภสัชเวท และศูนย์สมุนไพรทักษิณ
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์





''กระชาย'' รสเผ็ดร้อน บำรุงกำลัง แก้ชัก

กระชายเป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปี เหง้าใต้ดินมีรูปร่างคล้ายนิ้วมือ เนื้อในเหง้ามีสีขาวมีกลิ่นหอมเฉพาะ ใบเดี่ยวรูปขอบขนานแกมรูปไข่ ดอกช่อ แทรกระหว่างกาบใบที่โคนต้น กลีบดอกสีขาวอมชมพู มีรสเผ็ดร้อน ขม มีสรรพคุณยาไทย แก้ปวดมวน ในท้อง แก้ท้องอืดเฟ้อ บำรุง กำลัง แก้ชัก

ชื่ออื่น : กระแอน ขิงทราย
Finger root

ชื่อวิทยาศาสตร์ : boesenbergia pandurate (Roxb)Schltr.

วงศ์ : Zingiberaceae

http://www.rakbankerd.com/kaset/Plant/699_1.jpg

สรรพคุณและข้อแนะนำในการใช้ตามระบุในงานสาธารณสุขมูลฐาน :


สรรพคุณ : แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ

วิธีการใช้ : นำ เหง้าและรากกระชายประมาณครึ่งกำมือ (สด 5-10 กรัม แห้งหนัก 3-5 กรัม) ทุบพอแหลก ต้มเอาน้ำดื่มเวลามีอาการ หรือปรุงเป็นอาหารรับประทาน


องค์ประกอบทางเคมี :

1. องค์ประกอบหลักในน้ำมันหอมระเหยจากเหง้ากระชาย -ocimene, cineol, camphene, methyllicinnamatebได้แก่ camphor, geraniol,

2. นอกเหนือจากน้ำมันหอมระเหย ใน เหง้ากระชายยังมีรายงานองค์ประกอบของสารกลุ่มอื่นๆโดยเฉพาะฟลาดวนอยด์ ได้แก่ panduratins 'ส้มออบแอบ'' แก้อักเสบ ลดแผลในกระเพาะ

ส้ม ออบแอบหรือลูกเถาคันเป็นพืชท้องถิ่นในแทบภาคใต้ คนใต้รู้จักนำไปใช้ประโยชน์โดยการนำลูกและใบอ่อนซึ่งมีรสเปรี้ยวๆ ไปใส่แกงส้มจะได้รสชาติที่อร่อยกลมกล่อม ส่วนลูกสุขจะนำไปหมักทำไวน์ ให้รสชาติดีอีกเช่นกัน

ส้มออบแอบหรือลูกเถาคัน อยู่ในวงศ์ MYRCINACEAE มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Embelia subcoriacea Mez. ชื่ออื่นๆ ที่ใช้เรียกกัน ได้แก่ ส้มเค้า (คลองหอยโข่ง-สงขลา), ส้มน้ำออบ, ส้มอ๊อบแอ๊บ (นครศรีธรรมราช) ลูกเถาคัน(ใต้)

http://www.rakbankerd.com/kaset/Plant/596_1.jpg
ส้ม ออบแอบเป็นพืชเถาที่เกี่ยวพันกับต้นไม้อื่น มีใบสีเขียวรูปสามเหลี่ยมหัวใจ ยาวประมาณ 15ซม. ฐานกว้างประมาณ 8 ซม. ลำต้นรูปสี่เหลี่ยมเป็นข้อๆยาวประมาณ 5 - 10 ซม. เมื่ออ่อนจะมีสีเขียวอ่อน แก่เต็มที่จะมีแป้งสีขาวเกาะติดระหว่างข้อ ตรงข้อจะมีหนวดสีชมพูใช้เกาะเกี่ยวต้นไม้อื่น ใบออกตรงข้อ ดอกออกเป็นช่อลักษณะเป็นตุ่มเล็กๆ สีน้ำตาล เมื่อดอกบานจะมีกลีบดอกเล็กๆ สีเหลือง ผลออกเป็นพวง ผลอ่อนจะมีสีเขียวนวลๆ มีรสชาติเปรี้ยว เมื่อก่ผลจะเปลี่ยนเป็นสีม่วงดำ แต่ละผลมีขนาดประมาณ 0.5 ซม.

ส่วนที่ใช้ประโยชน์ :

ใบและผลอ่อน มีรสเปรี้ยว ใช้เป็นผักแกงส้ม (แกงเหลือง ปักษ์ใต้)หรือนำไปลนไฟตำ
น้ำพริกได้

ประโยชน์ทางยา :
ใบและเถาใช้เป็นยาฟอกเลือด ดับพิษตานซาง ราก แก้อักเสบเนื่องจากเป็นแผลในกระเพาะอาหาร และต้มเป็นยาขับพยาธิไส้เดือนสำหรับเด็ก
http://www.rakbankerd.com/kaset/Plant/596_2.jpg


ข้อมูลเพิ่มเติม :

ทาง ร่วมด้วยช่วยกันสงขลา ได้รับคำแนะนำจากผู้ใช้บริการ *1677 ว่า อยากทราบข้อมูลเรื่อง ส้มออบแอบ ซึ่งผู้ใช้บริการ *1677 ระบุว่า อ่านพบใน มติชนสุดสัปดาห์ ลงข้อมูลเกี่ยวกับ ส้มออบแอบ จึงสอบถามมายัง *1677 เพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องนี้ ดังนั้นทีมงานฯ จึงได้นำข้อมูลจาก มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับที่ 1468 วันที่ 3-9 ต.ค. 2551 คอลัมน์สมุนไพรเพื่อสุขภาพ มาขยายต่อ จากนั้นจึงได้ประสานไปยัง ศูนย์สมุนไพรทักษิณ คณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยคุณปราณี รัตนสุวรรณ ให้ข้อมูลมาพอสังเขปดังนี้

ส้มออบแอบหรือลูกเถาคัน มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นแตกต่างกันไป ที่เหนือเรียก ป่องเครือ ลำปางเรียก นมนาง เชียงใหม่เรียก แม่น้ำนอง โคราชเรียกส้มกุ้ง ที่ใต้เรียก ลูกเถาคัน อีสานเรียก ส้มอ๊อบแอ๊บ บ้างก็เรียกส้ม ออบแอบ ก็มี เรียกส้มขี้มอด ก็มี

ถิ่นกำเนิดจากอินเดียและได้กระจายแพร่ พันธุ์ไปทั่วทุกภาคของไทย ส้มอ๊อบแอ๊บหรือลูกเถาคัน เป็นไม้เลื้อยประเภทเถาวัลย์ ใบหนามีรสเปรี้ยว ใบย่อยมี 3 ใบ ผลอ่อนสีเขียว แก่จัดมีสีดำ ผลสุขมีสรรพคุณเป็นยาระบาย ( เวลาทานผลสุก เวลาขับถ่ายออกมาจะเป็นสีดำถือเป็นเรื่องปกติ ไม่ต้องตกใจ)

สรรพคุณทางสมุนไพรใบ , เถา ใช้ฟอกเลือด ดับพิษตางซาง ราก นำไปต้ม ลดแผลในกระเพาะอาหาร ,ขับพยาธิ

การใช้ประโยชน์ :

ภาคใต้ นิยมนำใบ รวมทั้งผลอ่อนมาแกงส้มปลา บ้างก็นำใบใส่ในแกงเหลือง ภาคอีสานนำใบส้มอ๊อบแอ๊บปรุงรสในต้มเป็ด ต้มปลา ก็ใส่

ล่าสุดที่ภาคอีสาน เครือข่ายหมอพื้นบ้านภาคอีสาน(มหาสารคาม) ได้รวมกลุ่มจัดตั้งเครือข่ายหมอพื้นบ้าน และรวบรวมองค์ความรู้เรื่องสมุนไพร โดยได้นำข้อมูลสมุนไพรมารวบรวมเป็นตำหรับยา เพื่อใช้ในการรักษาโรคให้สืบกันต่อไป หนึ่งในตำหรับยานั้น มีสูตรพิเศษช่วยบำบัดในเรื่องอาการเหน็บชาในวัยชรา ด้วยสมุนไพร 3 ชนิด คือ ส้มขี้มอด หูลิง เครือทางควาย โดยนำเอาแก่นของไม้ทั้งสาม ต้มรวมกันใช้ดื่ม

ผลแก่ สามารถนำไปหมักทำไวน์ ได้ ( มีรสเปรี้ยวคล้ายองุ่น )

ใบ นำไปทำเป็นผงนัว (ปรุงรสอาหาร ) นับได้ว่ามีประโยชน์มากมายเกินตัว ควรมีกล้าพันธุ์ หรือเมล็ดเพาะปลูกไว้ติดบ้าน ดังนั้น ทางทีมงานของเรา จึงขยายผลต่อ ไปยังแหล่งของส้มอ๊อบแอ๊บ หรือ ลูกเถาคัน โดยได้รับความช่วยเหลือจากคุณปราณี จนท.จากศูนย์สมุนไพรทักษิณ ฯ พาไปดูต้นอ๊อบแอ๊บ ที่ขึ้นตามธรรมชาติ ณ คลองพะวง ( คลองพะวง อยู่ใกล้กับสหกรณ์ออมทรัพย์ครู จังหวัดสงขลา ถนนลพบุรีราเมศวร์ )

ที่คลองพะวงแห่งนี้ มีส้มอ๊อบแอ๊บขึ้นตามธรรมชาติอยู่มากพอสมควร มีทั้งผลอ่อน และผลแก่ โดยในส่วนของภาคการขยายพันธุ์ส้มอ๊อบแอ๊บนั้น ท่านผู้ใดสนใจ อยากหาเมล็ดไปปลูก ก็สามารถไปเก็บผลแก่ได้ที่คลองพะวง รับรองว่ามีจำนวนมากมายพอไม่ผิดหวัง


-------------------------------------------- @     สมุนไพรแก้ไข้หวัด

อาการไข้หวัดเกิดจากหลายสาเหตุ ส่วนใหญ่มักเกิดจากการติดเชื้อทำให้เกิดการอักเสบและมีไข้ หรือเกิดจากร่ายกายได้รับความร้อนมากเกินไป สมุนไพรที่แนะนำเพื่อบำบัดอาการไข้ที่ไม่รุนแรงและซับซ้อนมีดังนี้
http://www.rakbankerd.com/kaset/Plant/553_1.gif

1. บอระเพ็ด

- เหนือเรียก เครือเขาฮอ จุ่งจิงก็เรียก หนองคายเรียก เจตมูลหนาม ใต้เรียก เจตมูล

วิธีใช้: เถาที่ใช้เป็นยาต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 1 ปีครึ่ง ใช้เถาสดยาว 2 คืบครึ่ง ( 30-40 กรัม ) ตำคั้นเอาน้ำดื่ม หรือต้มกับน้ำ 3 ส่วน เคี่ยวให้เหลือ 1 ส่วน ดื่มก่อนอาหารวันละ 2 ครั้งเช้า-เย็น หรือเวลามีไข้ เพื่อให้ง่ายต่อการรับประทานอาจบดเป็นผงแห้งปั้นเป็นลูกกลอนขนาดเท่าปลาย นิ้วแก้ว รับประทานครั้งละ 2 เม็ดวันละ 3
A และ C; hydroxypanduratin A; helichrysetin; 2mpferol3, 4

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น