วันพฤหัสบดีที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2555

สมุนไพรแก้ไข้หวัด

สมุนไพรแก้ไข้หวัด

อาการไข้หวัดเกิดจากหลายสาเหตุ ส่วนใหญ่มักเกิดจากการติดเชื้อทำให้เกิดการอักเสบและมีไข้ หรือเกิดจากร่ายกายได้รับความร้อนมากเกินไป สมุนไพรที่แนะนำเพื่อบำบัดอาการไข้ที่ไม่รุนแรงและซับซ้อนมีดังนี้
http://www.rakbankerd.com/kaset/Plant/553_1.gif

1. บอระเพ็ด

- เหนือเรียก เครือเขาฮอ จุ่งจิงก็เรียก หนองคายเรียก เจตมูลหนาม ใต้เรียก เจตมูล

วิธีใช้: เถาที่ใช้เป็นยาต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 1 ปีครึ่ง ใช้เถาสดยาว 2 คืบครึ่ง ( 30-40 กรัม ) ตำคั้นเอาน้ำดื่ม หรือต้มกับน้ำ 3 ส่วน เคี่ยวให้เหลือ 1 ส่วน ดื่มก่อนอาหารวันละ 2 ครั้งเช้า-เย็น หรือเวลามีไข้ เพื่อให้ง่ายต่อการรับประทานอาจบดเป็นผงแห้งปั้นเป็นลูกกลอนขนาดเท่าปลาย นิ้วแก้ว รับประทานครั้งละ 2 เม็ดวันละ 3



**
ข้อควรปฏิบัติ** ควรดื่มน้ำมากๆ และไม่ควรกลั้นปัสสาวะ หากปวดมากให้กินยาระงับปวด หรือถ้าไม่หายควรไปพ "ส้มป่อย" แก้ไอ ขับเสมหะ

ส้มป่อย เป็นไม้พุ่มรอเลื้อยขนาดใหญ่ ตามลำต้นกิ่งก้าน มีหนาม ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ใบย่อยรูปขอบขนาน ปลายและโคนใบมน ดอกมีขนาดเล็กเป็นช่อกลม เป็นพู่เหมือนดอกกระถิน ออกตามปลายกิ่ง ฝักแบนยาว คล้ายถั่วลันเตา สีน้ำตาลดำ ขอบเป็นคลื่น ผิวย่น มีสารกลุ่มซาโปนินสูงถึง 20 % ตีกับน้ำจะเกิดฟองคงทนมาก มีเถาเป็นเนื้อไม้และมีหนามที่เปลือกของลำต้น ลำต้นเลื้อยพาดพันต้นไม้อื่นได้ บริเวณยอดอ่อนเถาจะเป็นสีแดงคล้ำมีหนามอ่อน ใบ เป็นใบประกอบ ก้านใบประกอบยาว 6 - 16 ซม. ก้านใบยาว 1.5 - 5.2 ซม. ประกอบด้วยใบ 5-10 คู่ มีใบย่อย 10-35 คู่ ในแต่ละก้าน ใบย่อยมีสีเขียวขนาดเล็ก ดอก จะแตกออกจากง่ามใบลักษณะเป็นทรงกลมคล้ายดอกกระถิน และมีเกสรเป็นขนอ่อนๆ รอบดอก เมื่อดอกแก่จะกลายเป็นฝักยาว ผล เป็นฝัก ผิวของฝักมีคลื่นขรุขระ ฝักยาว 10 - 15 ซม. เปลือกของฝักอ่อนเป็นสีเขียวอมแดง พอแก่เป็นสีน้ำตาลเข้ม เมล็ดเรียงอยู่ภายในขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด


ชื่อพื้นบ้านอีสาน : ส้มป่อย

ชื่อทั่วไป : ส้มป่อย หรือ ส้มขอน ภาคกลาง : ส้มป่อย ภาคเหนือ : ส้มใบ ส้มป่อย ภาคใต้ : ส้มใบ

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Acacia concinna (Willd.) DC.

วงศ์ : Leguminosae-Mimosoideae

ประเภท : ไม้เถา



http://www.rakbankerd.com/kaset/Plant/785_1.jpg

ประโยชน์ของส้มป่อย :

ยอดอ่อนของส้มป่อยใช้กินเป็นอาหาร และประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ เช่น เผ่าใส่ในน้ำมนต์ เป็นการรักษาและป้องกันโรคต่าง ๆ หรือใช้เป็นอุปกรณ์พรมน้ำมนต์(ตามวิถีชีวิตและความเชื่อของคนอีสาน) ในส่วนของฝักมีสารออกฤทธิ์ในกลุ่ม (saponin) ได้แก่ acacinin A, B, C, D และ E จากนอกจากนี้ยังมีการนำส้มป่อยไปใช้ในอุตสากรรมการทำเครื่องสำอางค์ (ยาสระผม น้ำหอม เป็นต้น)ในประเทศลาว

สรรพคุณทางสมุนไพร

ใช้ใบต้มอาบแก้โรคผิวหนัง และเป็นยาขับเสมหะ

สรรพคุณทางยา

ใบ - รสเปรี้ยว ฝาดร้อนเล็กน้อย สรรพคุณช่วยขับเสมหะ ขับระดูขาว แก้บิด ฟอกโลหิต แก้โรคตา

ดอก - รสเปรี้ยว ฝาด มัน แก้เส้นเอ็นพิการให้สมบูรณ์

ฝัก - รสเปรี้ยว เป็นยาขับเสมหะ แก้ไอ ทำให้อาเจียน แก้น้ำลายเหนียว แก้โรคผิวหนัง ช่วยขจัดรังแคและบำรุงเส้นผม

เปลือก - รสขมเปรี้ยว เผ็ดปร่า เจริญอาหารกัดเสมหะ แก้ไอ แก้ซางเด็ก

ต้น - รสเปรี้ยวฝาดแก้ตาพิการ

ราก - รสขม แก้ไข้ แก้ท้องร่วง

ประโยชน์ทางอาหาร

ยอดอ่อนและใบอ่อนใช้รับประทานเป็นผัก และเครื่องปรุงรสช่วยให้อาหารมีรสเปรี้ยว และช่วยดับกลิ่นคาวปลาได้ ยอดส้มป่อยมักนำมาแกงกับปลา แกงส้ม หรือจอ (อาหารเหนือ) ก็ได้ เวลาแกง อาจจะใส่ยอดส้มป่อยอย่างเดียวหรือแกงรวมกับยอดมะขามอ่อนก็ได้

ประโยชน์ด้านอื่นๆ

น้ำของฝักส้มป่อยใช้ขัดล้างเครื่องเงิน เครื่องทอง นอกจากนี้เปลือกต้นให้สีน้ำตาลและสีเขียวซึ่งใช้ประโ ยชน์ในการย้อมผ้า ย้อมแห และอวนได้

สารที่มีประโยชน์ในส้มป่อย

-
ในฝักมีสารชาโปนิน ซึ่งทำเป็นฟองคล้ายสบู่

-
มีสารจำพวก กรดอินทรีย์ ที่ทำให้รสเปรี้ยว นำไปประกอบอาหารได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น